ชื่อไทย: สิงโตพู่ทอง
ชื่อพฤกษศาสตร์: Bulbophyllum ovatum Seidenf.
ชื่อไทย: ว่านจุกดอกขาว
ชื่อพฤกษสาสตร์: Calanthe ceciliae Rchb.f.
ชื่อไทย: เอื้องน้อย
ชื่อพฤกษศาสตร์: Dendrobium pachyphyllum (Kuntze) Bakh.f.
ชื่อไทย: กุหลาบกระเป๋าปิด
ชื่อพฤกษศาสตร์: Aerides odoratum Reinw. ex Blume
ชื่อไทย: เอื้องเต่าทอง
ชื่อพฤกษศาสตร์: Eria ornata (Blume) Lindl.

 

บทความเรื่อง นิเวศบริการ

ปัจจุบันไม่น่าจะมีใครสงสัยแล้วว่า เรากำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านออกจากยุคทุนนิยมอุตสาหกรรมที่ล้าหลังไปสู่ยุค ..ทุนนิยมหลังอุตสาหกรรม” ..

 

 

บทความเรื่อง นิเวศบริการ
ปัจจุบันไม่น่าจะมีใครสงสัยแล้วว่า เรากำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านออกจากยุคทุนนิยมอุตสาหกรรมที่ล้าหลัง ไปสู่ยุค “ทุนนิยมหลังอุตสาหกรรม” ที่ไม่ว่าจะมีโฉมหน้าอย่างไรในแต่ละประเทศ ก็ล้วนแต่ต้องสอดคล้องกับหลัก  “การพัฒนาที่ยั่งยืน” สถานเดียวเท่านั้นสิ่งที่ต้องทำสองเรื่องใหญ่คือ ผลักดันให้ทุกฝ่ายมองเห็นโฉมหน้าของ “การพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน” ปัจจุบันในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับโลกลงมาถึงปัจเจก และเมื่อมองเห็นก็ต้องหาวิธี “สร้างแรงจูงใจ” ให้คนทุกระดับเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและวิธีดำเนินธุรกิจอย่างไร “ต้นทุน” ของการเปลี่ยนผ่านจะได้ไม่สูงเกินความสามารถใน การจ่าย โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาที่มีศักยภาพที่จะรับมือน้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้ว แต่เดือดร้อนจากวิกฤตสิ่งแวดล้อมมากกว่ากันหลายเท่า “นิเวศบริการ” (ecosystem services) หมายถึงประโยชน์ที่ธรรมชาติส่งมอบให้กับมนุษย์

นิเวศบริการที่เราคุ้นเคยที่สุดได้แก่ อาหาร น้ำ สะอาด และทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ  แต่ยังมีบริการอีกมากมายที่เรามักไม่ค่อยนึกถึง เช่น การดูดซับคาร์บอนและบรรเทาภาวะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงของป่าไม้

รายงานของสถาบันทรัพยากรโลก (World Resources Institute :WRI) I ระบุว่า ที่ผ่านมาองค์กรพัฒนาและนักวางแผนนโยบายมักจะเน้นไปที่นิเวศบริการเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น โดยเฉพาะสิ่งที่นำไปขายในระบบตลาดได้ เช่น น้ำสะอาด ทรัพยากรป่าไม้ พืชเพาะปลูก และประมง พวกเขามองข้ามนิเวศบริการเชิงระบบที่ “กำกับดูแล” กระบวนการธรรมชาติต่างๆ ที่สำคัญ อาทิ สภาพภูมิอากาศ  โรคระบาด การกัดเซาะหน้าดิน เส้นทางไหลของน้ำ การกระจายเกสร รวมถึงการปกป้องอารยธรรมมนุษย์จากภัยธรรมชาติ โดยที่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชและสํานักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ กําลังริเริ่มจัดทําโครงการนําร่องจึงควรสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างภาครัฐ ท้องถิ่นชุมชน และภาคเอกชน เพื่อนําไปสู่การวางระบบ กลไกการทํางาน และกฎระเบียบที่จําเป็น เพื่อการ ขับเคลื่อน และการกระจายค่าตอบแทนคุณค่าระบบนิเวศอย่าง(PES)    เป็นรูปธรรม ในระยะต่อไป นอกจากนั้น ควรสนับสนุนให้มีการประเมินมูลค่าการให้บริการของระบบนิเวศ อย่างเป็นวิทยาศาสตร์เพื่อรองรับการตัดสินใจเชิงนโยบายการดําเนินงานในระยะแรกควรเริ่มต้นจากระบบนิเวศที่สําคัญ เช่น ภาคป่าไม้ความหลากหลายทางชีวภาพ การจัดการพื้นที่ต้นน้ำชายฝั่งและป่าชายเลน ฯลฯ สําหรับกลุ่มเป้าหมายอาจพิจารณากลุ่มผู้ใช้บริการจากระบบนิเวศที่มีศักยภาพ เช่น โรงไฟฟ้าพลังน้ำ  กิจการที่มีการใช้น้ำและพลังงานอย่างเข้มข้น ธุรกิจการท่องเที่ยวรวมทั้งประชาชนทั่วไปที่ต้องการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาระบบนิเวศ


1 วิกฤตศตวรรษที่ 21 มติชนสุดสับดาห์ ฉบับวันศุกร์ที่ 02 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ปีที่ 32 หน้า 41
2  htpp:// greenworld.or.th   สฤณี  อาธชานันทกุล  นิเวศบริการกับการพัฒนาเศรษฐกิจ 
3  htpp:// tei.or.th องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั้งยืน Thailand Business Council for Sustainable Devclopment